วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของคนเรา
 กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
       อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันเป็นจำนวนนับล้านๆเซลล์ กลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันร่วมทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะ อวัยวะทำงานกันเกิดเป็นระบบ
ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย
      มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย การแบ่งส่วนประกอบของร่างกายออกเป็นระบบต่างๆ จะช่วย ให้เข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้องง่ายขึ้น ในปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวจึงได้เปลี่ยนมาเน้นการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโดยถือว่าเป็นการป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ซึ่งหลักการสร้างเสริมสุขภาพจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไปนี้                                                                        - รักษาอนามันส่วนบุคคล อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน เป็นต้น
-บริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาดปลอดภัย
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
-ผักผ่อนให้เพียงพอ เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดและลดความเมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ
-ทำจิตใจให้ร่างเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
-หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
-ตรวจเช็คร่างกาย
 ระบบประสาท
       คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุม การทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน และจะเป็นศูนย์กลางคอยรับการกระตุ้นแล้วส่งกระแส  คำสั่งผ่านเส้นประสาทที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายให้ทำงานตามที่ต้องการ
องค์ประกอบของระบบประสาท
 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็น ศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ
    สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย
-ซีรีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความนึกคิด ไหวพริบ
-ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก
-ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
   สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
   สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย
-ซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อ
-พอนส์ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร
-เมดัลลา ออบลองกาตา ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบอัติโนมัติ
ไขสันหลัง
ทำหน้าที่รับกระประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมองและรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ และยังคุมปฎิกิริยารีเฟลกซ์
 ระบบประสาทส่วยปลาย ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบ อัติโนมัติ จะทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฎิบัติงาน
1)      เส้นประสาทสมองมีอยู่ 12 คู่
2)      เส้นประสาทไขสันหลัง มีอยู่ 31 คู่
3)      ระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ ศูนย์กลางการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติจะอยู่ในก้านสมอง
ระบบสืบพันธุ์
เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติเพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
 -อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชายคือ เทสโทสเทอโรนเพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย ภายในอัณฑะจะประกอบด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ
- ถุงหุ้มอัณฑะ  ทำหน้าที่ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ
- หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
- หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
- ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ
- ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ
- ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1 รังไข่ ทำหน้าที่ดังนี้
-ผลิตไข่
-สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโทรเจน และ โพรเจสเทอโรน
2 ท่อนำไข่ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
3 มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่จริญเติบโตของทารกในครรภ์
4 ช่องคลอด เป็นทางผ่านของตัวอสุจิ และเป็นทางออกของทารก
ระบบต่อมไร้ท่อ
เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมนเป็นต่อมที่ไม่มีท่อ


ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
ต่อมใต้สมอง แบ่งเป็น 2ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและต่อมใต้สมองส่วนหลัง
มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ
-ต่อมหมวกไต  แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในจะสร้างฮอร์โฒนอะดรีนาลีนส่วนชั้นนอกจะสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
-ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน
-ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดด่างในร่างกาย
-ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย
-รังไข่ ในเพศหญิงและอัณฑะในเพศชาย
-ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย