วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)


พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)
                สำหรับความหมายของพฤติกรรมสุขภาพนั้น  ได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมายได้หลายดังนี้
                พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior) หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงทางด้านที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพซึ่งเกิดขึ้นทั้งภายใน (Covert Behavior)  และภายนอก (Overt Behavior) พฤติกรรมสุขภาพจะรวมถึงการปฏิบัติที่สังเกตได้และการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตไม่ได้  แต่สามารถวัดได้ว่าเกิดขึ้น (Good, 1959)  พฤติกรรมภายในเป็นปฏิกิริยาภายในตัวบุคคลมีทั้งเป็นรูปธรรมและนามธรรม  ที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถใช้เครื่องมือบางอย่างเข้าวัดหรือสัมผัสได้  เช่น  การเต้นของหัวใจ  การบีบตัวของลำไส้  พฤติกรรมเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่มีอยู่ตามสภาพของร่างกาย  ส่วนที่เป็นนามธรรมได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก  เจตคติ  ค่านิยม  เป็นต้น  พฤติกรรมภายในนี้ไม่สามารถสัมผัสหรือวัดได้ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เพราะไม่มีตัวตน  จะทราบได้เมื่อแสดงพฤติกรรมออกมา  พฤติกรรมภายนอกเป็นปฏิกิริยาต่าง ๆ ของบุคคลที่แสดงออกมาทั้งทางวาจาและการกระทำซึ่งปรากฏให้บุคคลอื่นเห็นหรือสังเกตได้  เช่น  ท่าทางหรือคำพูดที่แสดงออกไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียง  สีหน้า
                พฤติกรรมสุขภาพ  หมายถึง  ความสามารถในการแสดงออกเกี่ยวกับสุขภาพทั้งทาง       ด้านความรู้  เจตคติ  และทักษะ  โดยเน้นเรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถสังเกตและวัดได้  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องสุขภาพ 
                พฤติกรรมสุขภาพ  หมายถึง  การกระทำ  การปฏิบัติ  การแสดงออกและท่าทีที่จะกระทำ  ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดี  หรือผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง  ครอบครัว  หรือชุมชน  พฤติกรรมสุขภาพจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.     เป็นการกระทำ (Action)  พฤติกรรมสุขภาพในลักษณะที่เป็นการกระทำ  คือ  การกระทำหรือการปฏิบัติของบุคคลที่มีผลดีหรือผลเสียต่อสุขภาพ
2.     เป็นการไม่กระทำ (Non Action)  ส่วนพฤติกรรมที่เป็นการไม่กระทำ  คือ  การงดเว้นไม่กระทำหรือการไม่ปฏิบัติของบุคคลที่มีผลดีหรือผลเสียต่อสุขภาพ
      
                พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)  หมายถึง  กิจกรรมหรือการปฏิบัติใด ๆ ของปัจเจกบุคคลที่กระทำไปเพื่อจุดประสงค์ในการส่งเสริม  ป้องกัน  หรือบำรุงรักษาสุขภาพ  โดยไม่คำนึงถึงสถานะสุขภาพที่ดำรงอยู่หรือรับรู้ได้  ไม่ว่าพฤติกรรมนั้น ๆ จะสัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมายหรือไม่ในที่สุด (ปณิธาน  หล่อเลิศวิทย์, 2541)
                     สุชาติ โสมประยูร ได้ให้ความหมายไว้ว่า พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนและทักษะ โดยเน้นเรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถสังเกตและวัดได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องสุขภาพ

                อาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมหรือกิจกรรมเกือบทุกอย่างของปัจเจกบุคคลจะส่งผลกระทบต่อสถานะสุขภาพทั้งสิ้น  ภายใต้บริบทนี้เราอาจแยกพฤติกรรมของคนเราออกเป็นส่วนที่ทำไปโดยตั้งใจที่จะส่งเสริมหรือป้องกันสุขภาพ (ดังคำนิยามข้างต้น)  หรือส่วนที่กระทำไปโดยไม่ตั้งใจที่จะหวังผลด้านสุขภาพ  ตามความหมายที่นักวิชาการได้ให้ไว้
                ดังนั้น  พอสรุปได้ว่า  พฤติกรรมสุขภาพหมายถึง  การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลใน    การกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง  โดยอาศัยความรู้  ความเข้าใจ  เจตคติ  และการปฏิบัติตนทางด้านสุขภาพด้านต่าง ๆ  คือสุขภาพกาย  จิตใจ/อารมณ์  และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล
ซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมสุขภาพ ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. พฤติกรรมการป้องกันโรค ( Preventive health behavior ) หมายถึง การปฏิบัติของบุคคลเพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคขึ้น เช่น การไม่สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การสวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ การพาบุตรไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค เป็นต้น

2. พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย ( illness behavior ) หมายถึง การปฏิบัติที่บุคคลกระทำเมื่อมีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วย เช่น การนอนพักอยู่กับบ้านแทนที่จะไปทำงาน การเพิกเฉย การถามเพื่อนฝูงเกี่ยวกับอาการของตน การแสวงหาการรักษาพยาบาล เป็นต้น

3. พฤติกรรมที่เป็นบทบาทของการเจ็บป่วย ( Sickrole behavior ) หมายถึง การปฏิบัติที่บุคคลกระทำหลังจากได้รับทราบผลการวินิจฉัยแล้ว เช่น การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การเลิกดื่มสุรา การลดหรือเลิกกิจกรรมทีทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น เป็นต้น

                พฤติกรรมทั้ง 3 ลักษณะนี้ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องการให้บุคคลต่าง ๆ ได้รับการปลูกฝังหรือได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่แตกต่างกัน และพฤติกรรมสุขภาพแต่ละลักษณะมีกระบวนการทางพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพหรือการเปลี่ยนแปลงพติกรรมสุขภาพจึงเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับการวิเคราะห์ วางแผนและดำเนินการอย่างเหมาะสมตามสภาพปัญหาของพฤติกรรมสุขภาพนั้น ๆ

    
องค์ประกอบของพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

   1. พฤติกรรมด้านความรู้หรือพุทธิพิสัย ( Cognitive domain ) พฤติกรรมด้านนี้เกี่ยวข้องกับความรู้ ความจำ ข้อเท็จจริง การพัฒนาความสามารถ ทักษะทางสติปัญญา การใช้วิจารณญาณเพื่อประกอบการตัดสินใจ พฤติกรรมด้านนี้เริ่มต้นจากความรู้ระดับต่าง ๆ และเพิ่มการใช้ความคิดและพัฒนาสติปัญญาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

  2. พฤติกรรมด้านเจตคติ ( Affective domian ) หมายถึงสภาพความพร้อมทางจิตใจของบุคคลที่เกี่ยวกับสุขภาพ พฤติกรรมด้านนี้เกี่ยวข้องกับความสนใจ ความรู้สึก ท่าที ความชอบ ความไม่ชอบ การให้คุณค่า เช่น ความรู้สึกชอบดื่มยาชูกำลัง ความไม่ชอบบริโภคผัก เป็นต้น

   3. พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Phychomotor domain ) พฤติกรรมการปฏิบัติเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมาเกี่ยวกับการใช้ความสามารถที่แสดงออกมาทางร่างกายและสังเกตเห็นได้ พฤติกรรมการปฏิบัติเป็นพฤติกรรมขั้นสุดท้ายที่จะช่วยให้บุคคลมีสุขภาพดี เช่น การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การพบแพทย์หรือบุคลากรทางสาธารณสุขเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น

ลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพ มีดังนี้

   1. พฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือพฤติกรรมเชิงบวก ( Positive behavior ) หมายถึงพฤติกรรมที่บุคคลปฏิบัติแล้วส่งผลดีต่อสุขภาพของบุคคลนั้นเอง เป็นพฤติกรรมที่ควรส่งเสริมให้บุคคลปฏิบัติต่อไปและควรปฏิบัติให้ดีขึ้น เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เป็นต้น

   2. พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือพฤติกรรมเชิงลบหรือพฤติกรรมเสี่ยง (Negative behavior ) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลปฏิบัติแล้วจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือโรค เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารจำพวกแป้งหรือไขมันมากเกินความจำเป็น การรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก เป็นต้น จะต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและพยายามปรับเปลี่ยนให้บุคคลเปลี่ยนไปแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลต่อการให้ความรู้ด้านสุขภาพ
       1. ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการผลิตและตลาดสินค้าที่เป็นภัยต่อ สุขภาพ ได้แก่ บุหรี่ สารเสพติด สุรา เครื่องดื่มมึนเมาต่าง ๆ
       2. การโฆษณาจากสื่อมวลชน ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
      3. ค่านิยมที่เปลี่ยนไปเกิดลักษณะบริโภคนิยมและวัตถุนิยม นิยมบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น เช่น นม เนย ไข่ อาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง
      4.ความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีและการปฏิบัติเช่นประเพณีการดื่มชาของคนจีนเป็นสิ่ง

ดีเพราะต้องใช้น้ำเดือดคนไทยเชื่อว่าเด็กรับประทานไข่จะทำให้เป็นซาง
      5.ศาสนาบางศาสนาถือว่าก่อนเข้าโบสถ์ต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด บางศาสนาให้อดอาหาร

ในระยะถือบวช
      6.ระดับการศึกษาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ทำให้ถ่ายทอดความรู้ทำได้ยาก   

      7 .การติดต่อคมนาคมถ้าสะดวกย่อมทำให้การติดต่อสื่อสารให้ความรู้ได้สะดวกแต่ก็ส่งผลเสียได้เพราะจะทำให้การรับวัฒนธรรมของต่างถิ่นมาได้ง่ายเกินไป
      8. เชื้อชาติ ภาษา ถ้าพื้นที่เดียวกันมีประชากรหลายเชื้อชาติ หลายภาษาย่อมมีความแบ่งแยก ขาดความสามัคคี และมีพฤติกรรมสุขภาพหลากหลาย เลียนแบบและขัดแย้ง
      9. ที่ตั้งและสภาพท้องที่ เช่น ชาวเขานิยมถ่ายในป่าคนในเมืองถ่ายในส้วม
    10. อิทธิพลกลุ่ม เช่น กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนนักเรียน กลุ่มเพื่อนร่วมงานฯลฯ จะเป็นการเรียนรู้และเลียนแบบเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะครับทุกคน

   ทุกคนทราบกันดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ ต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วย ไม่เครียด อารมณ์แจ่มใส่ เบิกบาน ซึ่งถ้าขาดการออกกำลังกายก็ทราบเช่นกันว่ามีโทษต่อร่างกายอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแม้จะรู้ก็ยังมีคนไทยเราออกกำลังกายกันน้อยมาก

          เพราะอะไร? ทำไมประชาชนชาวไทย จีงออกกำลังกายกันน้อยมาก? คำพูดที่ได้ยินได้ฟัง กันเป็นประจำคือ "ไม่มีเวลาออกกำลังกาย" เช้าต้องรีบตื่นเดินทางจากบ้านมาที่ทำงาน เลิกงาน ก็ต้องรีบกลับ กลัวรถติด แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่าเราก็ไปเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อยู่บนรถเพราะการ จราจรติดขัด จะขยับไปไหนก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีอะไรทำขณะอยู่บนรถ  เรา ก็มักจะหยิบขนมขบเคี้ยวขึ้นมากินไปพลางๆ พฤติกรรมตัวอย่างข้างต้นส่งผลให้ปัจจุบันคนไทยมีปัญหาสุขภาพกันมาก ทั้งโรคที่เกิดกับร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง  และ โรคที่เกิดกับจิตใจ เช่น โรคเครียด วิตกกังวล การไม่ออกกำลังกายส่งผลเสียกับร่างกายมากขนาดนี้ แล้วทำไมเราจะยังดื้อไม่ออกกำลังกายกันอีกล่ะครับ

          เราจะแก้ไขปัญหาไม่มีเวลาออกกำลังกายได้อย่างไร? จริงๆ ไม่ยากเลย จะขอยกตัวอย่างวิธีสร้างแรงจูงใจง่ายๆ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยกระตุ้นให้เรานิยมออกกำลังกายกันมากขึ้น

           วิธีที่หนึ่ง สร้างแรงจูงใจโดยนึกถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย  วิธี นี้ทุกคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมก่อให้ เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีประโยชน์มากมายขนาดนี้ มีแต่ได้กับได้ แล้วทำไมเราจะพลาดโอกาสดีๆ เช่นนี้ล่ะ

           วิธีที่สอง นึกไว้ว่าการออกกำลังกายทำให้เรามีรูปร่างทรวดทรงสมส่วน ลดไขมันส่วนเกินของร่างกาย หาเสื้อผ้าสวมใส่ได้ง่าย ไม่ต้องคอยมองหาขนาดใหญ่พิเศษ ช่วยเสริมให้เรามีบุคลิกภาพดีมีเสน่ห์ต่อคนรอบข้าง  ดัง ที่เราจะสังเกตเห็นว่าสาวๆ ที่ออกกำลังกายจะเดินเหินหรือทำกิจกรรมอะไรก็กระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว หนุ่มๆ ก็ดูสมาร์ต เข้มแข็งเป็นคนมีบุคลิกดี

           วิธีที่สาม นึกไว้ว่างการออกกำลังกายทำให้เรามีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ ได้สังสรรค์กับเพื่อนๆ ตกเย็นหลังเลิกงานเราจะได้ไปเล่นกีฬากับเพื่อนๆ ได้หัวเราะ ได้พูดคุยไปพร้อมๆ กัน การออกกำลังกาย จึงเป็นสื่อในการเข้าสังคมได้อย่างดี

           วิธีที่สี่ การออกกำลังกายทำให้เราได้ผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานหรือจากการดำเนินชีวิตประจำวันเพราะเมือเราออกกำลังกายร่างกายจะ หลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรากระชุ่มกระชวย กระปี้กระเปร่า ทำให้เรารู้สึกสดชื่น เป็นวิธีคลายเครียดที่ให้ทั้งความสุขทางจิตใจ และประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย

           และ วิธีสุดท้าย เปลี่ยนความคิดที่ว่าการออกกำลังกายจะต้องเปลี่ยนชุดกีฬา ต้องไปออกกำลังกายที่กว้างๆ ต้องมีเวลา ต้องมีคนไปร่วมออกกำลังกายเป็นเพื่อนด้วย ยิ่งคิดแบบนี้คนที่บอกไม่มีเวลาก็จะยิ่งหนีไกลไม่ออกกำลังกายและความคิดนี้ ก็เชยแล้วล่ะครับ เดี๋ยวนี้เรามีวิธีออกกำลังกายง่ายๆ ทำได้ทุกที่แล้ว  ตัวอย่าง กิจกรรมการออกกำลังกายง่ายๆ ที่ทำได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ไม่ต้องหาเวลาทำอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น เดินขึ้นบันได 3-4 ชั้นแทนการใช้ลิฟต์(ประหยัดไฟช่วยชาติ) เดินไปตลาดใกล้บ้านแทนการเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง (ประหยัดได้หลายบาท) ชั่วโมงธุรกิจอยู่เล่นกีฬากับเพื่อนร่วมงานดีกว่าต้องไปนั่งจับเจ่าหงุดหงิด อยู่บนรถที่ติดเป็นตังเม (ช่วยให้ไม่เสียอารมณ์) หรือยกดัมเบลเวลารอรถขยับ เมื่อการจราจรติดขัด (ได้กล้ามเนื้อฟิตแอนด์เฟิร์ม) นอกจากนี้บางกิจกรรมทำแล้วยังช่วยให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย เช่น การเดินข้ามสะพานลอยแทนการวิ่งตัดข้ามบนถนนให้หวาดเสียว วิธีการออกกำลังกายง่ายๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ได้ขยับเขยื้อนร่างกาย นำมาซึ่งสุขภาพร่างกายและจิใจที่แข็งแรง

          ลองปฏิบัติดูครับ และหลังจากที่เราสร้างนิสัยออกกำลังกายได้แล้ว ช่วยหันไปสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกายแก่บุคคลรอบข้างด้วย สิ่งดีๆ มีประโยชน์ควรบอกต่อๆ กันครับ


วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย

           ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
          ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
          ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
          ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น



ภูมิปัญญาไทยกับการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน


ทุกชุมชนมีวิถีการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง และมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีภูมปัญญาที่แตกต่างกันออกไป โดยภูมิปัญญาเหล่านั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูก และกลายมาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือ การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อยเป็นต้น ดังนั้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาอาการเจ็บป่วย การป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ

แนวทางการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

การแพทย์แผนไทย( Thai Traditional Medicine ) หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสุขภาพ

การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น

การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.  การนวดแบบราชสำนัก

2.  การนวดแบบเชลยศักดิ์

การนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท  และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง เป็นต้น
                                                      การนวดแผนไทย



กระประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้

น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ


กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้


  
  ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
          ๑. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
          ๒. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
          ๓. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
          ๔. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
          ๕. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
          ๖. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
          ๗. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของคนเรา
 กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
       อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันเป็นจำนวนนับล้านๆเซลล์ กลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันร่วมทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะ อวัยวะทำงานกันเกิดเป็นระบบ
ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย
      มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย การแบ่งส่วนประกอบของร่างกายออกเป็นระบบต่างๆ จะช่วย ให้เข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้องง่ายขึ้น ในปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวจึงได้เปลี่ยนมาเน้นการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโดยถือว่าเป็นการป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ซึ่งหลักการสร้างเสริมสุขภาพจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไปนี้                                                                        - รักษาอนามันส่วนบุคคล อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน เป็นต้น
-บริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาดปลอดภัย
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
-ผักผ่อนให้เพียงพอ เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดและลดความเมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ
-ทำจิตใจให้ร่างเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
-หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
-ตรวจเช็คร่างกาย
 ระบบประสาท
       คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุม การทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน และจะเป็นศูนย์กลางคอยรับการกระตุ้นแล้วส่งกระแส  คำสั่งผ่านเส้นประสาทที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายให้ทำงานตามที่ต้องการ
องค์ประกอบของระบบประสาท
 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็น ศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ
    สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย
-ซีรีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความนึกคิด ไหวพริบ
-ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก
-ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
   สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
   สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย
-ซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อ
-พอนส์ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร
-เมดัลลา ออบลองกาตา ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบอัติโนมัติ
ไขสันหลัง
ทำหน้าที่รับกระประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมองและรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ และยังคุมปฎิกิริยารีเฟลกซ์
 ระบบประสาทส่วยปลาย ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบ อัติโนมัติ จะทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฎิบัติงาน
1)      เส้นประสาทสมองมีอยู่ 12 คู่
2)      เส้นประสาทไขสันหลัง มีอยู่ 31 คู่
3)      ระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ ศูนย์กลางการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติจะอยู่ในก้านสมอง
ระบบสืบพันธุ์
เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติเพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
 -อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชายคือ เทสโทสเทอโรนเพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย ภายในอัณฑะจะประกอบด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ
- ถุงหุ้มอัณฑะ  ทำหน้าที่ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ
- หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
- หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
- ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ
- ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ
- ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1 รังไข่ ทำหน้าที่ดังนี้
-ผลิตไข่
-สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโทรเจน และ โพรเจสเทอโรน
2 ท่อนำไข่ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
3 มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่จริญเติบโตของทารกในครรภ์
4 ช่องคลอด เป็นทางผ่านของตัวอสุจิ และเป็นทางออกของทารก
ระบบต่อมไร้ท่อ
เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมนเป็นต่อมที่ไม่มีท่อ


ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
ต่อมใต้สมอง แบ่งเป็น 2ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและต่อมใต้สมองส่วนหลัง
มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ
-ต่อมหมวกไต  แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในจะสร้างฮอร์โฒนอะดรีนาลีนส่วนชั้นนอกจะสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
-ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน
-ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดด่างในร่างกาย
-ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย
-รังไข่ ในเพศหญิงและอัณฑะในเพศชาย
-ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย